การต่อใช้งานบอร์ด Wemos IoT 2AC

บอร์ด Wemos IoT 2AC เป็น 1 ใน 3 รุ่นในโมเดลบอร์ด Wemos IoT ได้แก่ Wemos IoT 1AC, Wemos IoT 2AC และ Wemos IoT 2DC ที่ออกแบบมาให้ขนาดพอดีกับกล่องกันน้ำ Leetech ขนาด 4×4 นิ้ว และออกแบบวงจรให้ใกล้เคียงกับ Sonoff BASIC R2 แต่เพิ่มส่วนของรีเลย์เข้ามาอีกชุดหนึ่ง และช่องต่อเซนเซอร์แบบ XH2.54 เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากโมสายไฟ Sonoff เอง บนบอร์ดใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP8266 สามารถเขียนโปรแกรมเองหรือ flash firmware Tasmota ก็ได้

Read more

การใช้งานจอ TFT Touch Screen บน ESP32 ด้วยบอร์ด LARB32

จอ TFT Touch screen เป็นการรวมเอาความสามารถในการแสดงผลและการสัมผัสเข้ามาในโปรเจค IoT หรือ Embedded Systems โดยการใช้งานจอ TFT Touch screen นี้สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น แสดงข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่างๆ ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือสร้างอินเทอร์เฟซสำหรับผู้ใช้

คุณสมบัติและข้อดีของจอ TFT Touch screen

  1. ความละเอียดสูง: จอ TFT มักมีความละเอียดสูง ทำให้สามารถแสดงผลกราฟิกและข้อความได้อย่างชัดเจน
  2. รองรับการสัมผัส: สามารถรับคำสั่งจากผู้ใช้ผ่านการสัมผัสจอ ซึ่งทำให้สามารถสร้างอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและเป็นมิตรกับผู้ใช้
  3. การเชื่อมต่อที่ง่าย: จอ TFT มักมีอินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อที่ง่ายกับ ESP32 เช่น SPI
  4. การเขียนโปรแกรมง่าย: มีไลบรารีและโค้ดตัวอย่างที่พร้อมใช้งาน ทำให้การเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมจอ TFT เป็นเรื่องง่าย

ในตัวอย่างนี้เราเลือกใช้ไลบรารี่ TFT eSPI ซึ่งมีการทำงานที่รวดเร็วและใช้งานง่าย แต่ขั้นตอนการติดตั้งจะยุ่งยากแค่ครั้งแรก Read more

เริ่มต้นบอร์ด LARB32 ด้วย RTC และจอ TFT

เริ่มต้นเขียนโปรแกรมบนไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ด้วยบอร์ด LARB32 ซึ่งออกแบบช่องต่อจอ TFT มาให้โดยเฉพาะ ผู้ใช้สามารถนำจอมาเสียบผ่านสายแพและบอร์ดแปลงขาจอได้ทันที ไม่ต้องไล่เสียบทีละพินเหมือนการต่อบนบอร์ดทดลองทั่วไป อุปกรณ์ที่ใช้มีดังนี้

  1. บอร์ด LARB32
  2. สายแพและบอร์ดแปลงขาจอ
  3. จอ TFT ขนาด 2.8 นิ้วหรือใหญ่กว่า รุ่นทัชสกรีนหรือไม่ทัชสกรีนก็ได้ ที่ใช้ไดเวอร์ Ili9341 
  4. (ไม่มีก็ได้) ชิ้นส่วน 3D สำหรับยึดจอ TFT 2.8″ เข้ากับรางปีกนก ดาวน์โหลดไฟล์ 3D ได้ที่ https://www.hs3uka.com/downloads/TFT-ILI9341.stl

Read more

โค้ดทดสอบบอร์ด LARB32 Pro

ตัวอย่างโค้ดสำหรับทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆบนบอร์ด LARB32 Pro ว่าอุปกรณ์ทำงานได้อย่างปกติไหม โดยปกติแล้วจะเป็นโปรแกรมเริ่มต้นที่แถมมากับตอนซื้อบอร์ดครั้งแรก สามารถโหลดโค้ดด้านล่างนี้ใส่ในบอร์ดแล้วเปิด Serial Terminal ขึ้นมาดูการทำงาน จากนั้นกดปุ่ม (36) จากนั้นบอร์ดจะทำการเช็คอุปกรณ์แต่ละตัวพร้อมทั้งแสดงผลออกทาง Serial Terminal ทั้งหลอด LED, Buzzer, RTC, RS485, PCF8574, Relay และปุ่มกด จากนั้นกดปุ่ม (39) เพื่อล้างค่าและทดสอบอีกครั้ง

รายการอุปกรณ์ภายนอกที่ต้องมีสำหรับทดสอบเต็มรูปแบบได้แก่

  1. Smart Meter SDM120 สำหรับทดสอบ IC MAX485 สื่อสารแบบ RS485

ถ้าหากไม่มีอุปกรณ์ดังกล่าวก็ยังสามารถทดสอบบอร์ดได้ตามปกติโดยจะข้ามการทดสอบนั้นไป ส่วนไลบรารี่สำหรับ PCF8574 ที่แนะนำสามารถดาวน์โหลดที่ HS3UKA_PCF8574

Read more

โค้ดทดสอบบอร์ด LARB32

ตัวอย่างโค้ดสำหรับทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆบนบอร์ด LARB32 ว่าอุปกรณ์ทำงานได้อย่างปกติไหม โดยปกติแล้วจะเป็นโปรแกรมเริ่มต้นที่แถมมากับตอนซื้อบอร์ดครั้งแรก สามารถโหลดโค้ดด้านล่างนี้ใส่ในบอร์ดแล้วเปิด Serial Terminal ขึ้นมาดูการทำงาน จากนั้นกดปุ่ม (36) จากนั้นบอร์ดจะทำการเช็คอุปกรณ์แต่ละตัวพร้อมทั้งแสดงผลออกทาง Serial Terminal ทั้งหลอด LED, Buzzer, RTC, RS485, PCF8574, Relay และปุ่มกด รายการอุปกรณ์ภายนอกที่ต้องมีสำหรับทดสอบเต็มรูปแบบได้แก่

  1. Relay 8CH active LOW สำหรับทดสอบ IC PCF8574 ขยายขาดิจิตอล
  2. Smart Meter SDM120 สำหรับทดสอบ IC MAX485 สื่อสารแบบ RS485

ถ้าหากไม่มีอุปกรณ์ดังกล่าวก็ยังสามารถทดสอบบอร์ดได้ตามปกติโดยจะข้ามการทดสอบนั้นไป ส่วนไลบรารี่สำหรับ PCF8574 ที่แนะนำสามารถดาวน์โหลดที่ HS3UKA_PCF8574

Read more

Library HS3UKA_PCF8574 สำหรับขยายขาดิจิตอล

PCF8574 เป็นชิป I/O Expander ที่ใช้โปรโตคอล I2C ในการสื่อสารกับไมโครคอนโทรลเลอร์ เช่น Arduino และ ESP32 ชิปนี้มีความสามารถในการขยายพอร์ตอินพุต/เอาต์พุตได้ถึง 8 พอร์ต ทำให้เราสามารถเพิ่มจำนวนพอร์ตได้โดยไม่ต้องใช้พื้นที่บนบอร์ดมากเกินไป แต่เนื่องจากไลบรารี่ PCF8574 โดยทั่วไปจะให้สถานะเป็น LOW ตอนเปิดเครื่องทำให้เมื่อเราต่อรีเลย์เข้ากับวงจรจะเกิดเสียงดังจากการทำงานของรีเลย์ขณะหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหานี้สำหรับผู้ที่ใช้บอร์ด LARB32 และ LARB32 Pro แนะนำให้ดาวน์โหลดใช้งานไลบรารี่ HS3UKA_PCF8574 ซึ่งยังไม่มีให้ดาวน์โหลดจาก Arduino IDE จึงต้องทำตามขั้นตอนยุ่งยากดังนี้

  1. ดาวโหลดไฟล์ HS3UKA_PCF8574.zip 
  2. ที่เมนูบน Arduino IDE เลือก Sketch > Include Library > Add .ZIP Library …
  3. เลือกไฟล์ HS3UKA_PCF8574.zip ที่ดาวน์โหลดไว้ แล้วรอซักครู่
  4. ทำการ ปิด-เปิด โปรแกรม Arduino IDE อีกครั้ง

Read more

1 2 3 4 31