การต่อใช้งานบอร์ด LARB32

บอร์ดการทดลองนี้ออกแบบมาให้สะดวกต่อการใช้งานในการทำสิ่งประดิษฐ์และโครงงานต่างๆ ถูกออกแบบให้หลีกเลี่ยงการต่อใช้งานขา GPIO ต้องห้ามและยังรองรับการต่อเซ็นเซอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงของ arduino โดยส่วนใหญ่ โดยใช้ โมดูล ESP32 รุ่น DOIT 32 DEVKIT V1 เวอร์ชั่น 30 ขาเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ เมื่อทำการพัฒนาโปรแกรมเสร็จแล้วสามารถติดตั้งเข้ากับสิ่งประดิษฐ์หรือตู้คอลโทรลโดยใช้รางปีกนกได้ ส่วนประกอบของบอร์ด

1. DC in ช่องต่อไฟเลี้ยงวงจร รองรับไฟกระแสตรงแรงดันตั้งแต่ 6 – 30 โวลต์ ใช้ DC Jack ขนาด 5.5×2.1 มิลลิเมตร

2. ปุ่ม Reset เชื่อมต่อกับปุ่ม Reset บน ESP32

3. ปุ่มกด (36) เชื่อมต่อกับ GPIO36 บน ESP32 ทำการต่อ pull-up ไว้ เมื่อกดปุ่มจะได้ค่าเป็น LOW

4. ช่อง input เชื่อมต่อกับ GPIO39, GPIO34 และ GPIO35 เชื่อมต่อโดยตรงกับ ESP32 สามารถรับค่าได้ทั้งอานาล็อคและดิจิตอล เนื่องจากช่อง GPIO นี้สามารถเป็น input ได้เพียงอย่างเดียวทำให้ไม่สามารถต่อเซ็นเซอร์ประเภท one wire bus ได้ เช่น DHT22, DS18B20 สามารถหลีกเลี่ยงโดยการใช้เซ็นเซอร์รุ่นอื่นที่แม่นยำกว่าเช่น BMP280 ที่ทำงานผ่าน I2C หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องใช้เซ็นเซอร์ DS18B20 ในการจุ่มของเหลวสามารถใช้ GPIO16 แหละ GPIO17 ที่ทำงานเป็น RS232 ทดแทนได้ถ้าหากยังว่างอยู่

5. RS232 เป็นช่องสื่อสารแบบอนุกรมนิยมใช้กับ GPS หรือ GSM Module หรือกรณีที่ต้องต่อใช้งานเซ็นเซอร์ประเภท one wire bus สามารถนำมาเชื่อมต่อใช้งานที่ GPIO นี้ได้

6. RS485 เป็นช่องสื่อสารตามมาตรฐานการรับส่งข้อมูลทางอุตสาหกรรม ส่งข้อมูลได้ไกลกว่า RS232 นิยมใช้กับอุปกรณ์ Smart Meter บนบอร์ดมี IC MAX485 สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลอยู่แล้ว สามารถกำหนดขาเรียกใช้งานในโปรแกรมได้เลย

7. Relay มี 2 ช่องเชื่อมต่ออยู่กับ GPIO27 และ GPIO14 ทำงานเมื่อสถานะเป็น HIGH ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ตัดต่อ NO และ Common ถ้านำไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกระแสสูงควรนำสัญญาณไปขยายด้วยรีเลย์ที่มีขนาดใหญ่ก่อนใช้งาน เพื่อป้องกันวงจรเสียหาย

8. I2C จัดเรียงขาตาม KB Chain เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อแบบ I2C สามารถนำไปขยายต่อได้

9. Digital I/O ช่องสัญญาณดิจิตอลขนาด 8 บิต ที่ได้มาจาการขยายขาโดย IC PCF8574T สามารถนำมาใช้เป็น input และ output นำมาต่อ Keypad หรือ Relay ก็ได้

10. SPI จัดเรียงขาตามโมดูล RFID RC522 ผู้ใช้งานสามารถกำหนดขาในโปรแกรมได้จากตาราง

Pin

GPIO

คำอธิบาย

MOSI

GPIO23

ส่งข้อมูลจาก Master ไปยัง Slave

MISO

GPIO19

ส่งข้อมูลจาก Slave ไปยัง Master

SCK

GPIO18

สัญญาณนาฬิกา

CS3

GPIO12

CS ของ RFID

11. Connector IDC 2×7 ช่องต่อจอ TFT รองรับ TFT แบบ Touch Screen เรียงขาตรงตามจอ แนะนำให้ใช้จอที่มี Driver ILI9341 จะหาไลบรารี่ในการเขียนโปรแกรมง่ายกว่าตัวอื่นเนื่องจากนิยมใช้มากกว่า ผู้ใช้งานสามารถกำหนดขาในโปรแกรมได้จากตาราง

Pin

GPIO

คำอธิบาย

MOSI

GPIO23

ส่งข้อมูลจาก Master ไปยัง Slave

MISO

GPIO19

ส่งข้อมูลจาก Slave ไปยัง Master

SCK

GPIO18

สัญญาณนาฬิกา

DC

GPIO5

ส่งข้อมูลหรือคำสั่งไปยังจอ

RST

GPIO4

รีเซ็ต

CS1

GPIO15

CS ของจอ TFT

CS2

GPIO13

CS ของ Touch Screen

12. Battery CR2032 สำหรับนาฬิกาบนวงจร ต้องมีแบตเตอรี่ต่ออยู่เท่านั้นนาฬิกาถึงจะทำงาน ไม่สามารถทำงานได้ด้วยไฟเลี้ยงจากบอร์ดเพียงอย่างเดียว ใช้ IC DS1307Z ตำแหน่ง address 0x68

13. DIP switch ตั้งค่า address ของ IC PCF8574T (ข้อ 9) เนื่องจากการเชื่อมต่อแบบ I2C สามารถต่ออุปกรณ์หลายตัวขนานกันได้บนช่องสัญญาณเดียววิธีสื่อสารข้อมูลไม่ให้ชนกันคือการกำหนด address ของอุปกรณ์ IC PCF8574T สามารถตั้งค่า address ได้ตามตารางนี้

A0

A1

A2

address

0

0

0

0x20

1

0

0

0x21

0

1

0

0x22

1

1

0

0x23

0

0

1

0x24

1

0

1

0x25

0

1

1

0x26

1

1

1

0x27

14. Active Buzzer เชื่อมต่อกับ GPIO32 ส่งเสียงเมื่อสถานะเป็น HIGH

15. LED แสดงสถานะ LED POW แสดงสถานะไฟเลี้ยงวงจร LED (2) แสดงสถานะ GPIO2 ซึ่งเชื่อมต่อกับ LED บน ESP32

พิกัดบอร์ด LARB32 : https://s.shopee.co.th/6AQKACYiaf

Facebook Comments